วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อคิดดีจากมหาตมะคานธี


ข้อคิดดีๆ จาก มหาตะมะ คานธี (Mahatma Gandhi) 
มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) มีชื่อเต็มว่า โมฮันดาส ครามจันทร์ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดีย เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2412 และถูกลอบสังหารเสียชีวิตในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 78 ปี
มหาตมะ คานธี เกิด ณ เมืองโประพันทระ รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย เป็นบุตรของ นายกรมจันทร์ และนางปุตลีใบ มีพี่น้องร่วมมารดา 4 คนท่านเป็นคนสุดท้อง ชีวิตในวัยเด็กของไม่ได้แตกต่างไปจากพวกเราเลย มีพ่อแม่ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีศีลธรรมประจำใจ นั่นคือ "สุจริตธรรม" ได้เรียนหนังสือ ได้แต่งงาน ได้ทำงานในสาขาวิชาที่เรียนมา เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ การศึกษาเข้าเรียนด้านกฎหมายที่นครลอนดอน ประเทศอังกฤษ
มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำคนสำคัญในการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพของอินเดีย จากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร โดยใช้วิธีอหิงสา ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นต้นแบบของการประท้วงแบบสันติที่ได้รับการยกย่อง
มหาตมะ คานธี เริ่มเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางความคิดทางการเมืองในปี พ.ศ.2449 เนื่องจากกฎหมายใหม่กำหนดให้ชาวอินเดียทุกคนจะต้องเข้ารับการจดทะเบียนและพิมพ์ลายนิ้วมือ ข้อบังคับนี้รวมถึงการให้หญิงชาวอินเดียต้องเปลื้องผ้าต่อหน้าตำรวจผิวขาว เพื่อกรอกตำหนิรูปพรรณลงในทะเบียนด้วย ด้วยความโกธรแค้น ชาวอินเดียประมาณ 3,000 คนมารวมตัวกันที่เมืองโยฮันเนสเบิรต์ เพื่อวางแผนการตอบโต้ เขาลุกขึ้นแล้วก็พูดว่า "เราจะสวดขอต่อพระเป็นเจ้าว่า เราจะเข้าคุก และเราจะอยู่ในนั้นจนกว่ากฎหมายนี้จะถูกเพิกถอน และเราจะยอม" คำพูดของเขาจุดประกายให้เกิดการต่อต้านครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของมวลชน ผู้ประท้วงกระทำตามอย่างคานธี พวกเขาอดทนต่อการทุบตีของตำรวจ ยอมรับความเจ็บปวดอย่างกล้าหาญโดยไม่ตอบโต้
มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของประเทศอินเดียจากเครือสหราชอาณาจักร จนประเทศอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2490 โดยเขามีความเชื่อที่มั่นคงเกี่ยวกับการประท้วงโดยไม่ใช้ความรุนแรง และความอดทนตามหลักศาสนา ที่เรียกว่าวิธี "อหิงสา" โดยเขาจะอดอาหารประท้วงจนความรุนแรงยุติลง  ในขณะที่มือข้างหนึ่งเปิดฉากการประท้วง แต่อีกข้างหนึ่งก็ต้องปกป้องพวกพ้องไม่ให้พ่ายต่อความต้องการก่อเหตุนองเลือด หลายครั้งที่คานธียกเลิกการชุมนุม เมื่อเหตุการณ์ทำท่าจะบานปลายเป็นความรุนแรงของประชาชนในประเทศ ในฐานะผู้นำทางการเมือง คานธีได้แสดงให้เห็นว่า "อหิงสา" สามารถใช้ให้เกิดผลทางการเมืองได้
ข้อคิดดีๆ จาก มหาตะมะ คานธี (Mahatma Gandhi)
 - การมองดูเฉพาะโทษของผู้อื่นนั้น เลวร้ายกว่าการยกย่องตัวเอง
-
การยิ้มโดยมิได้เสแสร้ง หากด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้ว เป็นการพูดที่บังเกิดผลที่สุด และมีประสิทธิภาพมากกว่าคำพูดด้วยซ้ำไป
-
แม้ได้เปล่าก็ไม่ควรรับสิ่งที่ไม่ควรรับ
-
แม้งานจะบริสุทธิ์ แต่ถ้าเราทำด้วยความยึดมั่นถือมั่น ก็ย่อมจะหนีความยุ่งยากไปไม่พ้น
-
เมื่อเรารู้แล้วว่าทุกอย่างมีสองด้านให้เราดู เราก็ควรจะดูเฉพาะด้านที่ดีงามเท่านั้น
-
มนุษย์จะพบตนเองในเมื่อหมดอหังการ
-
ผู้ที่เสียสละแล้วเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ เขาคือผู้ที่มิได้เสียสละอะไรเลย การเสียสละที่แท้จริงมีแต่จะทำให้เกิดความปีติและพาจิตใจไปสู่ที่สูง
-
ผู้ใดไม่สามารถปกครองตนเองได้ ผู้นั้นย่อมไม่สามารถปกครองผู้อื่นได้อย่างแท้จริง
-
ผู้ที่ไม่รู้จักระเบียบและไม่ปฏิบัติตามระเบียบ จะเป็นผู้รับใช้ประชาชนไม่ได้
-
ผู้ที่ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้อื่น ย่อมได้ชื่อว่ามิได้ทำสิ่งไรโดยไร้คุณค่า
-
ผู้ใดที่ต้องการสร้างความพอใจให้แก่คนทุกคน ผู้นั้นย่อมจะสร้างความพอใจให้แก่ใครไม่ได้เลย
-
ผู้ใดที่คอยจับผิดคนอื่น ผู้นั้นย่อมจะไม่พบผิดของตนเอง
-
ผู้ใดที่กลัวคำตำหนิของมหาชน ผู้นั้นย่อมจะไม่มีวันทำงานสำคัญใดๆได้
-
คำพูดที่จริงนั้น แม้เพียงคำเดียวก็พอ แต่คำพูดที่ไม่จริง ถึงแม้จะมากมาย ก็เปล่าประโยชน์ทั้งสิ้น
-
คนไม่มีอุดมการณ์เปรียบได้กับเรือไม่หางเสือ
-
ที่ใดมีศรัทธา ที่นั่นย่อมไม่มีความสิ้นหวัง
-
คนเราคิดอย่างไรก็ได้อย่างนั้น
-
คนอ่อนแอไม่เคยให้อภัย การรู้จักให้อภัยเป็นคุณลักษณะของคนเข้มแข็ง
-
คนอื่นเท่านั้นดอกที่จะมองเห็นหลังของเราได้ ตัวเราเองย่อมมองไม่เห็น ฉันใด ความผิดของเราเอง เราก็ย่อมมองไม่เห็น ฉันนั้น
-
หากคนเราสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ด้วยจิตใจอันแน่วแน่ ในที่สุดเขาก็สามารถทำทุกอย่างได้
-
ความนุ่มนวลและความสุขุมเป็นสัญลักษณ์ที่แท้จริงของความสำเร็จในชีวิต
      1. ความเป็นคนเคารพตนเองและเชื่อมั่นในตนเอง  เมื่อท่านเรียนมัธยม คุณครูได้ให้นักเรียนเขียนคำที่ครูบอก แต่ท่านเขียนไม่เป็น ครูจึงให้ท่านดูของเพื่อน แต่ท่านไม่ทำตาม ท่านกล่าวว่า "การเขียนโดยแอบดูของเพื่อนหรือลอกของเพื่อนมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ทำให้ฉันภูมิใจเลยและฉันก็จะไม่กระทำเป็นอันขาด" การเคารพตนเองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่มนุษย์พึงมี เพราะหากแม้ตนเองยังไม่เชื่อมั่นในตนเองก็คงยากที่จะหาใครเชื่อมั่นในตน
2.    ความเป็นคนใจกว้างแก่ศาสนาทุกศาสนา  คานธีเป็นผู้ที่เคร่งครัดในศาสนามาก ศาสนาสำหรับท่านแล้วมีความหมายเท่าชีวิต แต่ก็ไม่ละเลยที่จะสนใจศึกษาศาสนาอื่นอีกทั้งยังให้ความเคารพแก่ทุกศาสนาด้วย เพราะทุกศาสนาต่างก็มีจุดหมายที่ต้องการให้คนเป็นคนดี และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งนั้น "ศาสนามิได้มีเพื่อแยกแยะคน" ท่านกล่าว
3.  ใฝ่สันติ ปฏิเสธสงคราม   คานธีเป็นคนที่ไม่ชอบทหารมาตั้งแต่เด็ก ทุกครั้งที่ทหารเดินผ่านหน้าบ้านเด็กคนอื่นๆจะออกไปโห่ร้องยินดี แต่ท่านกลับรู้สึกกลัว ทหารเป็นสัญลักษณ์แห่งการฆ่า และสงครามที่นำมาซึ่งหายนะ ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะก็เจ็บตัวไปเท่าๆกัน ที่เป็นเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าท่านขี้ขลาดหรือท่านกลัวตาย เพราะชีวิตอยู่ท่ามกลางความตายอยู่แล้วจะกลัวอะไร และท่านก็ไม่คิดว่า การใช้อำนาจโดยการเข่นฆ่าผู้อื่นคือรูปแบบของความกล้าหาญ "นักรบที่ถืออาวุธคือนักรบที่ขี้ขลาด การสร้างอำนาจด้วยพละกำลังคือการแสดงออกอย่างขลาดเขลายิ่ง" จนแม้เมื่อท่านต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดียจากอังกฤษท่านก็ไม่คิดจะก่อสงคราม เพราะสงครามไม่ได้ของเรื่องของดินแดน2 ดินแดนเท่านั้น แต่คือความเสียหายที่จะเกิดแก่โลก " โลกที่มนุษย์ต้องการนั้นจะซื้อหาด้วยเงินได้ไม่ โลกถูกสงครามทำลายล้าง ความจงเกลียดจงชังอันเก่าแก่ก็จะคุขึ้นมาอีก โลกต้องการสันติภาพถาวรและไมตรีจิตอันยั่งยืน"
4. ความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว   เป็นธรรมดาของบุคคลที่ไม่ธรรมดาของโลกที่มักจะมีความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ และกล้าที่จะทำ ในสิ่งที่ตนใคร่ครวญว่าถูกต้องเหมาะสมและอยู่ในวิสัยที่ตนจะทำได้แล้วมากกว่าคนธรรมดาที่ธรรมดาอยู่อย่างนั้นเสมอ แต่นั่นต้องเป็นความกล้าหาญที่มีคุณธรรมเพราะ  "หากตนไม่สามารถเป็นสุภาพบุรุษด้วยคุณธรรมความดีของตนแล้วไซร้ การกระทำนั้นก็หามีคุณค่าไม่" การอดอาหารประท้วง การเดินทางด้วยเท้า การต่อต้านสินค้าอังกฤษ การเดินเข้าคุกอย่างองอาจ  "หากข้าพเจ้ามีความผิด ด้วยมุ่งมั่นที่จะเสาะแสวงหามนุษยธรรมแล้ว ข้าพเจ้าของพลีชีวิตแด่เพื่อนร่วมชาติและร่วมโลกด้วยความตั้งใจจริงไม่เปลี่ยนแปลง" สิ้นคำพูดของคานธี ที่กึกก้องกัมปนาท คนอินเดียหลายร้อยล้านลุกฮือขึ้นมา เพื่อร่วมเดินทางร่วมอุดมการณ์กับท่าน นี่หรือเปล่าค่ะที่เราเรียกว่าพลังที่เอาชนะใจคนได้โดยใช้ใจแลกมาอย่างแท้จริง
5. ความมีสำนึกแห่งความเป็นชาติ   "ข้าพเจ้าจะไม่มีวันมีความสุขได้ หากผู้ที่ต่ำต้อยที่สุดในบรรดาพวกเราไม่มีความสุข" นั่นคือคำกล่าวของท่าน แม้ว่าความโดดเดี่ยวจะคือหนทางของนักปราชญ์ที่เรามักจะได้พบเห็นเสมอ และแม้แต่คานธีเองท่านก็ไม่ปฏิเสธว่ามิโดดเดี่ยว
                มหาตมะ  คานธี ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค..1948 เวลา 17.05 ณ สนามหญ้าขณะที่ท่านกำลังสวดมนต์อยู่ด้วยอาวุธปืน และลูกปืนสามนัด โดยนายนาธูราม ก๊อกซี  ท่านจากไปอย่างสงบ เพราะเมื่อเวลานั้น อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว จุดมุ่งหมายของท่านบรรลุแล้ว ถึงตอนนี้ เดือนกันยายน ปี 2000 คานธีก็ยังอยู่….เขายังอยู่ในใจของคนอินเดีย และคนทั้งโลกเสมอ คานธีเคยกล่าวว่า " การกระทำของข้าพเจ้าจะคงอยู่ต่อไป หาใช่คำพูดหรือข้อเขียนของข้าพเจ้าไม่" ซึ่งมันก็เป็นเช่นนั้น
มหาตมะ  คานธี ผู้วางตนอยู่บน วัตถุประสงค์ของการมีชีวิตคือ อยู่ให้ถูกต้อง คิดให้ถูกต้อง กระทำให้ถูกต้อง หากการศึกษาอัตชีวประวัติคือการเรียนรู้เรื่องราว การกระทำของผู้ที่ได้ผ่านโลก ได้สั่งสมประสบการณ์มาก่อน นั่นคือภูมิปัญญาที่จะพัฒนาตน พัฒนาความคิด และจิตวิญญาณของคนต่อๆไป 
โลก....มีทรัพยากร ที่จะแบ่งปัน
 ให้แก่...พวกมนุษย์ทุกคน...ที่จําเป็น
  แต่...ไม่มีพอ  ที่จะสนองความโลภ...
  ...ของคน...แม้คนเดืยว....
  มิตรภาพ...ที่แท้จริง  จะต้องรับนําหนัก
  แห่งความแตกแยก....ทางความคิดเห็น
  อันบริสุทธิ์ใจ...ได้...
  ผุ้ใด....ที่เข้าถึงศาสนา....ของตนเอง
  ผุ้นั้น....ย่อมเข้าถึงศาสนา
  ของผุ้อื่น...ด้วย...
  ความแข็งแรง.....ย่อมมิได้มา...
  จากความสามารถ....ทางกายภาพ
  มันมาจาก....นําใจที่ทรหด.....
  ....อดทน...ต่างหาก....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น